19 May 2010

จานรับสัณญาณ wifi แบบอัตโนมือ



สวัสดีครับ คนไทยเรานี่ความจริงเก่ง นะครับ คิดอะไรทำอะไรได้แต่ละอย่างทำเอาตะลึงเหมือนกันครับ อย่างตามหัวข้อข้างบนเลยครับ มันน่าสนใจดี สามารถดัดแปลงและก็ทำเองได้เลย อุปกรณ์ก็ไม่ได้มีอะไรมาก แต่ที่สำคัญคือ หลักการที่ใช้ดักจับสัญญาณ ครับ จากคลื่น wifi ที่ส่งมาอ่อนมากด้วยระยะที่ไกลหรือในพื้นที่ที่จำกัด ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้เลยครับ  อ่าว เกริ่นมาเยอะละครับ ไปดูวิธีทำกันเลยครับ
ป.ล. วิธีนี้ผมไม่ได้คิดเองนะครับ


หลักการทำงานของจานรับสัญญาณ Wi-Fi
หลายๆคนคงเคยใช้แว่นขยายมารวมแสงอาทิตย์เผานู่นเผานี่เล่นกันมาบ้างใช่ไหมครับ จานรับสัญญาณ Wi-Fi ก็ใช้หลักการเดียวกันซึ่งจานจะมีลักษณะเป็นรูปพาลาโบล่า หรือเหมือนกระจกเว้า แต่ถ้าจะพูดให้ถูกก็เหมือนฝาชีมากกว่า โดยจานจะสะท้อนสัญญาณ Wi-Fi มารวมกันตรงกลางที่จุดใดจุดหนึ่งของจาน ทำให้จุดนี้มีความเข้มของสัญญาณมาก ซึ่งเกิดมาจากการที่สัญญาณ Wi-Fi สะท้อนจากจุดต่างๆของจานมารวมกันที่จุดเดียวกันหมด ฉะนั้นหากจานรับ Wi-Fi ยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะทำให้รับสัญญาณได้ดีมากขึ้น เหมือนกับว่าเวลาที่เราใช้แว่นขยายรวมแสงแดดจะเกิดจุดสว่างขึ้นจุดหนึ่งและจุดนี้ก็ร้อนที่สุดเช่นเดียวกับจานรับสัญญาณจุดนี้ของจานก็จะรวมสัญญาณไว้เข้มข้นมากที่สุดเช่นกัน ฉะนั้นก่อนอื่นเราจะต้องหาจุดนี้ของจานให้เจอเสียก่อนซึ่งทำได้โดย

วิธีการหาจุดโกสของจานรับ WiFi (จุดสว่าง)
ในการทดลองครั้งนี้เราใช้เพียงแค่ฝาชี อะลูมิเนียม ธรรมดาๆ หรือ จะเอาฝาชีพลาสติกมาหุ้ม ฟรอยเอาก็ได้ ในกรณีของฝาชีอะลูมิเนียมรูของฝาชีจะต้องเล็กกว่าความยาวคลื่นหารด้วย 12 ซึ่งในที่นี้คลื่น Wi-Fi จะต้องใช้ฝาชีที่มีรูเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร เพื่อกันไม่ให้คลื่นวิ่งลอดรูออกไปได้หลังจากได้จานรับสัญญาณ Wi-Fi กันมาแล้วเราก็จะมาเริ่มหาจุดโฟกัสของจานกันครับ
ซึ่งในจานรับสัญญาณ WiFi จะมีจุดรวมสัญญาณอยู่จุดหนึ่งซึ่งเราจะต้องหาจุดนี้ให้เจอเพื่อนำอุปกรณ์รับสัญญาณไปวางตรงจุดนั้นโดยวิธีการหาสามารถทำได้โดยใช้สูตร

ความยาวโฟกัส = เส้นผ่านศูนย์กลางของจานกำลังสอง หารด้วย 16 x ความลึกจากก้นจาน

ตัวอย่าง : จานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 270 mm ลึก 100 mm

F = (270x270) / (16x100)
F = 45.56 หรือประมาณ 46 mm

ซึ่งเราจะนำเครื่องรับสัญญาณไปวางไว้ตรงจุดนี้เพื่อขยายสัญญาณของคลื่นที่เราจะต้องการขยายครับ

ลงมือสร้างจานรับ WiFi
1.ฝาชีอลูมิเนี่ยมรูปขนาดไม่เกิน 2 mm หรือผาชีพลาสติกนำมาหุ้ม ฟรอยก็ได้

2.อลูมิเนี่ยมฟรอยใช้สำหรับหุ้มผาชีที่พลาสติกครับ

3.เครื่องรับ WiFi

4.หูฟัง bluetooth เพื่อใช้ทดสอบระยะส่ง bluetooth ซึ่งก็ใช้ ย่านไมโครเวพเหมือนกับ WiFi

5.PDA 1 เครื่องเพื่อใช้รับสัญญาณ WiFi หรือ bluetooth ครับ

ข้อควรทำ

1.ถ้าเป็นฝาชีพลาสติกก็นำฟรอยมาหุ้มก่อนครับแต่ถ้าเป็นฝาอะลูมิเนียมก็ข้ามไปได้เลยครับ

2.ที่เหลือก็ไม่ต้องทำอะไรมากครับให้นำอุปกรณ์รับสัญญาณไปไว้ตรงจัดโฟกัสที่เราเพิ่งหามาได้ทันทีเลยครับหรือจะทำตัว ยึดหน่อยก็ได้นะครับ

จะใช้ PDA จิ้มไปตรงจุดโฟกัสก็ได้ครับ
หรือจะใช้เครื่องรับ WiFi มาใส่ก็ได้ครับต่อเข้า Notebook คลื่นเต็มสบายใจ

ผลการทดสอบ

ในการทดลองเราจะใช้เครื่อง Dopod 818 pro เปิดเพลง แล้วใช้หูฟัง bluetooth รับครับแล้วก็เดินออกห่างเรื่องๆจนเสียงซ่า ได้ผลดังนี้ครับ(โดยประมาณ)

ระยะ              ใช้                                      ไม่ใช้

1 M            ได้ยินดี                                ได้ยินดี

9M             ได้ยินดี                               เริ่มขาดๆหาย

10 M           ซ่าบ้าง                               สัญญาณหาย

13 M          จับสัญญาณได้ยากมาก       สัญญาณหาย

ข้อดี  ทำให้รับสัญญาณได้ไกลขึ้น

ข้อเสีย จะต้องหันจานไปทางแหล่งสัญญาณตลอดเวลาไม่สามารถรับสัญญาณจากด้านข้างได้

นำไปทำอะไรได้อีก

สามารถใช้หลักการนี้ไปใช้รับสัญญาณดาวเทียมหรือสัญญาณอื่นๆได้เช่นเดียวกันโดยต่อกับเครื่องรับได้ทันทีโดยการเพิ่มขนาดจานให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มการขยายสัญญาณ

สามารถติดจานให้เก็บเครื่องส่งได้เช่นเดียวกันโดยเวลารับก็หันหน้าจานดาวเทียมให้ตรงกันพอดีจะทำให้ส่งได้ไกลขึ้นโดยจะใช้เข็มทิศมัดมุมอสิมุตเพื่อหันให้ตรงกันมากขึ้นก็ได้จะเพิ่มระยะได้มากทีเดียว

สำหรับใครสนใจเนื้อหาในบทความนี้ผมรวบรวมเป็นไฟล์ pdf ให้โหลดฟรีที่นี่ครับ
1.mediafile
2.4shared

เดี๋ยวครั้งหน้าจะหาอะไรดี ๆ มาฝากอีกนะครับ

No comments:

Post a Comment